“กรดไหลย้อน” หลายท่านเมื่อได้ยินชื่อโรคนี้แล้ว คงรู้สึกว่าอาการไม่ร้ายแรงเป็นเพียงความรำคาญของอาการที่เกิดขึ้นบางครั้งบางคราว แต่รู้หรือไม่ว่า อาการกรดไหลย้อนสามารถเพิ่มความรุนแรง ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่ปกติ จนถึงการจำเป็นต้องทานยาตามที่แพทย์สั่งเลยก็เป็นได้
อาการเบื้องต้นที่หลายท่านอาจทราบ เช่น แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว กลืนลำบาก มีเสมหะ หรือไอบ่อย ๆ บางครั้งจนคลื่นไส้ และอาเจียน วันนี้น้อง K Kare จะมาบอก Tips พฤติกรรมที่ควรเปลี่ยน…เพื่อรักษา โรค“กรดไหลย้อน” กันค่า
1. นิสัยส่วนตัว
- ลดความเครียด และงดการสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับ หรือรัดแน่น โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
- ถ้ามีอาการท้องผูก ควรรักษาและหลีกเลี่ยงการเบ่ง
2. ลดน้ำหนัก
- โดยส่วนใหญ่แล้ว กรดไหลย้อย มาเกิดขึ้นกับคนที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หากรู้ตัวว่าตัวเองมีน้ำหนักมากเกินไป การลดน้ำหนักก็จะช่วยให้อาการของกรดไหลย้อนดีขึ้นได้
3. นิสัยในการรับประทานอาหาร
- รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด, อาหารมัน, อาหารย่อยยาก, พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ และอาหารฟาสต์ฟู้ด
- หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม peppermints เนย ไข่ นมหรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
- รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มแน่นท้องมาก
4. นั่ง/ยืนตรง ๆ หลังกินอาหารเสร็จ
- หลังรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย, การยกของหนัก, การเอี้ยวหรือก้มตัวในทันที จะช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารอยู่ในส่วนที่มันควรจะเป็น ไม่ไหลย้อนขึ้นมาที่กลางอกให้เรารู้สึกแสบ และควรรับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงด้วย (รวมถึงการห้ามเอนตัวลงนอนเพื่องีบหลังอาหารกลางวันด้วย)
5. อย่าเคลื่อนไหวร่างกายเร็วเกินไป
- ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ หลังรับประทานอาหารภายใน 2-3 ชั่วโมง สามารถลุกขึ้นเดินเล่นเบา ๆ หลังมื้ออาหารได้ แต่ไม่ควรออกท่าออกทางออกกำลังกายมากเกินไป โดยเฉพาะการวิ่งหนัก ๆ การก้ม ๆ เงย ๆ เต้นแอโรบิก หรือทำกาบบริหารต่าง ๆ หลังกินข้าวใหม่ ๆ เป็นต้น
6. นิสัยการนอน
- ควรนอนหลับในท่าหลังพิงหัวเตียง ให้หัวสูงกว่าเท้า 6-8 นิ้ว อย่าลืมเอาหมอนหนุนสะโพก หลังไปจนถึงคอให้นอนได้สบายด้วย ควรเลือกหมอนทรงสามเหลี่ยมที่ช่วยหนุนหลังดีกว่าการเอาหมอนมาวางทับ ๆ กันแล้วนอน เพราะจะไม่ได้มุมที่นอนแล้วสบาย และยังอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยหลังได้อีกด้วยหากใช้หมอนที่ไม่พอดีหนุน
การเลือกหมอน ที่ดีไซน์สำหรับช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนมาโดยเฉพาะ ก็ถือว่าจะตอบโจทย์มากๆค่ะ เพราะถ้าเราเอาหมอนมาทับๆกันให้สูง เพื่อช่วยอาการกรดไหลย้อน แต่สรีระท่านอนของเรามันผิดแปลก อาจจะทำให้ตื่นมาปวดตัว ปวดคอหนักกว่าเดิมอีกค่ะ
KOMFY ได้คิดค้นดีไซน์ หมอนรุ่น Kool Komfort Wave จากประสบการณ์จริง และการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การนอนของผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อน หลับสนิทตลอดทั้งคืน
นวัตกรรม K2 Kool
นวัตกรรม K2 Kool ผ้าหุ้มที่มีเส้นใยละเอียดสูงผสมกับเส้นใยพิเศษท่ีช่วยเน้นการระบาย อากาศให้ไหลเวียนได้ดีย่ิงขึ้นด้วยโครงสร้างของผ้าร่วมกับเทคนิคกระบวนการทอพิเศษ จึงได้ลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ ช่วยรักษาอุณหภูมิของหมอนให้เท่ากับอุณหภูมิของสภาพ แวดล้อม และช่วยถ่ายเทความร้อนจากร่างกาย มอบสัมผัสที่เนียนนุ่มเย็นสบาย
ผ้าตาข่าย Air Kool
ผ้าตาข่ายลักษณะพิเศษ Air Kool ช่วยไล่ความร้อนและความชื้นได้ดีเยี่ยมลดความอับชื้น ต้นเหตุของการสะสมแบคทีเรีย
เส้นใย Komfy Downy
เส้นใย Komfy Downy เป็นการผสมผสานเส้นใยสังเคราะห์ ที่มีขนาดเล็กละเอียดพิเศษ และเส้นใยหลายขนาด (Exclusive Fiber Mix) ไม่จับตัวเป็นก้อน ทําาให้หมอนของ Komfy มีสัมผัสที่นุ่มสบายพิเศษและยังช่วยในการโอบรับศีรษะและความเว้าโค้งของต้นคอได้ถูก ต้องตามสรีระ มีคุณสมบัติพิเศษในการคืนตัวของรูปทรง ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ด้วยการ ปูใยซึ่งเป็นกรรมวิธีแบบฉบับของ Komfy ที่เราต้องนวดใยกับหมอนทุกใบ เพื่อมอบความ นุ่มแน่นที่แตกต่างกันแต่ละจุด ที่สุดของความสบายที่คุณสัมผัสได้
ขอขอบคุณ ข้อมูล :Harvard Health Publishing และ Phyathai.com