บรรเทาโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างไรให้ไกลหมอ

ออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับกับพนักงานออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งในท่าซ้ำ ๆ ข้อมูลเชิงสถิติโดยโรงพยาบาลสมิติเวช พบว่า คนไทยกว่า 80% ที่ทำงานออฟฟิศมักมีอาการออฟฟิศซินโดรม โดยสาเหตุที่เกิดมาจากพฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน รวมถึงสภาพร่างกายของคนเรา หลายคนกังวลโดยเฉพาะเมื่อเราจำเป็นจะต้องหาหมอ กับการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยกายภาพบำบัด หรือฝังเข็ม ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง หรือหาไอเท็มเสริมมาช่วยบรรเทาอาการนี้ Komfy ได้มีการสร้างสรรค์หมอนขึ้นมาหลายรุ่น เพื่อให้รองรับกับการใช้งานที่แตกต่างกัน รวมถึงหมอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดของโรคนี้อีกด้วย แต่ก่อนที่เราจะไปหาวิธีการแก้ไขวิธีต่าง ๆ เราจำเป็นต้องรู้จักก่อนว่าโรคนี้คือโรคอะไร…

ออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร?

คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) ที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม จนก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ไม่เพียงเท่านี้ ออฟฟิศซินโดรมยังปวดหัวเป็นอาการข้างเคียงอีกด้วย สาเหตุหลักเกิดจากรูปแบบการทำงานที่กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเจอร์นานเกินไปโดยไม่ขยับร่างกาย ผ่อนคลาย หรือเปลี่ยนท่า ซึ่งอาจจะส่งผลกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง รวมไปถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง มีการแสดงอาการหลากหลาย โดยเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถระบุตำแหน่งอาการปวดได้อย่างชัดเจน บางคนอาจจะเจออาการปวดไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของร่ายกายได้ มีอาการตั้งแต่ปวดน้อยไปจนปวดมาก

ออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุการเกิดโรคเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  • สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ทำงานที่มีแสงสว่างน้อย อุปกรณ์ที่ใช้ไม่เหมาะสม โต๊ะทำงานอยู่ในระดับที่ไม่พอดี ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์มีระยะที่สูงหรือต่ำจนเกินไป รวมถึงเก้าอี้ที่นั่งไม่มีพนักพิง ที่ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกาย
  • ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม หมายถึง การนั่งทำงานหลังค่อม หลังงอ นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีที่พิง หรือนั่งไม่เต็มก้น กอดอก นั่งไขว่ห้าง หรือนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ไม่มีการขยับเขยื้อนไปไหน
  • สภาพร่างกายอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออาการป่วย ยกตัวอย่างเช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การได้รับสารอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ หรือรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
ออฟฟิศซินโดรม

การป้องกันและรักษาเพื่อบรรเทาอาการโดยไม่ต้องพึ่งคุณหมอ

สามารถทำได้หลายทาง การป้องกันแต่ละวิธีจะช่วยให้เรามีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากการปวด โดยมีวิธีดังนี้

  • แก้โรคออฟฟิศซินโดรมด้วยการออกกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีที่แก้ไขได้ง่ายที่สุด โดยการออกกำลังจะต้องเป็นเป็นการออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ ยกตัวอย่างเช่น การยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น การออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อให้เหมาะสม หมายถึง การไม่นั่งทำงานอยู่ในท่าทางเดิมเกิน 1 ชั่วโมง หากจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ควรพัก 10-15 นาทีแล้วค่อยกลับมาทำต่อ
  • การปรับเปลี่ยนท่าทางขณะนั่งทำงาน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น ปรับหน้าจอคอให้อยู่ในระดับสายตา ในท่านั่งที่รู้สึกสบาย ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้หรือปรับพนักพิงหลังของเก้าอี้ให้รับกับหลังส่วนล่างได้ หากเก้าอี้ไม่สามารถทำให้ได้ให้ใช้หมอนหนุนหลังหรือหมอนลดอาการปวดหลังแทน โดยหมอนหนุนควรเป็นหมอนที่นั่งพิงสบาย จะให้ดีควรรองรับได้ตั้งแต่ช่วงแขนไปถึงการโอบหลัง
ออฟฟิศซินโดรม

หากมีการปรับพฤติกรรมตัวเองเพื่อป้องกัน บรรเทาโรคนี้จากคำแนะนำข้างต้นแล้ว และอยากมีไอเท็มหมอนหนุนเสริมเพื่อเอาไว้พิงหลังช่วยบรรเทาอาการเพิ่มเติม หากกำลังมองหาไอเดียว่าควรเลือกหมอนแก้อาการปวดหลังอย่างไร แต่เราขอแนะนำ หมอน Kool Komfort Kalm หมอนสำหรับคนชอบนั่งทำงานหรือทำกิจกรรมเดียวเป็นเวลานาน ๆ หมอนใบนี้สามารถเอาไว้ได้ทั้งพิงหลังและรองแขน แถมยังเป็นหมอนลดอาการปวดคอ เพื่อช่วยบรรเทาอาการที่จะเกิดจากโรคนี้ได้อีกด้วย

หมอนจัดท่านอนช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพจริงหรือ?

หมอนจัดท่านอนคืออะไร หมอนช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพจริงหรือ ปัญหาที่หลาย ๆ คนเจอเกี่ยวกับสุขภาพ แต่อาจมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ รอบตัวซึ่งมีส่วนเป็นต้นเหตุในการส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยตรงของเรา ยกตัวอย่างเช่นเรื่องของการนอน การนอนที่ไม่ได้มีแค่เรื่องของที่นอน บรรยากาศห้องนอน หรือการนอนไม่หลับเพียงแค่นี้ แต่ยังมีเรื่องของ “หมอน” ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการนอนของแต่ละคน Komfy จึงสร้างสรรค์หมอนจัดท่านอนให้เข้ากับสรีระ และวิธีการนอนของแต่ละคนขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องคำนึงถึงด้วย


การเลือกหมอนที่ไม่ถูกกับสรีระร่างกายและท่านอนของเรา อาจทำให้มีปัญหาด้านอื่น ๆ ตามมาได้ แม้ว่าการนอนครั้งแรก ๆ เรานอนแล้วจะดูไม่มีปัญหาหรือรู้สึกปวดอะไร แต่หากนอนหมอนที่ไม่ถูกกับสรีระร่างกายและลักษณะการนอนของเราไปนาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดสะสมได้ในอนาคต ซึ่งโดยปกติท่านอนของคนทั่วไปอาจแบ่งได้ 3 ท่านอนหลัก นอนหงาย นอนตะแคง และนอนคว่ำ ดังนี้

หมอนจัดท่านอน

ท่านอนหงาย

เป็นท่านอนที่คนทั่วไปนิยมนอนกันมากที่สุด เพราะเป็นท่านอนที่ตอบโจทย์ได้ดีสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง การนอนหงายจะทำให้กระดูกสันหลังเรียงตัวได้ดี ไม่โค้งงอ แต่ทั้งนี้เตียงของเราจะต้องไม่แข็งเกินไปเพราะถ้าหากเตียงแข็งเกินไปอาจจะส่งผลให้เกิดแรงกดทับที่จุดใดจุดหนึ่ง ทำให้แผ่นหลังจมลงตามน้ำหนัก ไม่เหยียดตรงอย่างที่ควรจะเป็น สำหรับคนที่มีอาการปวดหลังจากโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบรัดเส้นประสาท(Lumbar Spinal Stenosis) คนที่เป็นโรคนี้ ไม่ว่าจะนอนท่าไหนก็สามารถทำให้ปวดหลังได้อยู่แล้ว เว้นแต่จะนอนในท่าที่มีการงอเข่าขึ้น โดยสามารถนำหมอนมารองใต้เข่าในท่าหงาย นอนตะแคงโดยยกเข่าก่ายหมอนข้าง หรือนอนท่าเด็กทารก(Fetal Position) โค้งตัวและงอเข่า จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้


ทริคในการเลือกหมอนที่นอนสบายที่สุดสำหรับคนที่ชอบนอนหงาย ควรเลือกหมอนช่วยนอนหงายที่สูงระดับปานกลาง เพื่อหนุนศีรษะ กระดูกช่วงคอและไหล่ ให้เรียงตัวอยู่ในตำแหน่งที่เป็นธรรมชาติ ถ้าหากใช้หมอนสูงเกินไปอาจทำให้ปวดต้นคอและทำให้หายใจลำบาก ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดกอาการกรนได้ สำหรับหมอนที่แนะนำ จะต้องเป็นหมอนที่ถูกออกแบบมาให้มีส่วนโค้ง เว้า เพื่อรองรับกับศีรษะและกระดูกสันหลัง เพื่อรับแรงกดทับของศีรษะและคอ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก แต่หากใครมีอาการปวดหลังจากท่านอนหงายก็สามารถใช้หมอนอีกใบรองใต้เข่า เพื่อลดความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนล่าง ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้

ท่านอนตะแคง

หากใครที่ชอบนอนตะแคงข้าง แนะนำให้นอนตะแคงข้างด้านขวามากกว่าด้านซ้าย เพราะการนอนตะแคงขวาจะไม่ทำให้น้ำหนักไปกดทับอวัยวะที่อยู่ด้านซ้าย และช่วยให้หัวใจเต้นได้สะดวกกว่า สำหรับท่านอนตะแคงข้างไม่แนะนำให้สำหรับคนที่มีอาการปวดไหล่ เพราะจะทำให้ไหล่มีอาการปวดหนักขึ้นกว่าเดิม


ทริคในการเลือกหมอนนอนตะแคง หรือหมอนช่วยนอนตะแคงสำหรับคนชอบนอนตะแคงข้าง ควรเลือกหมอนที่สูงพอดีที่จะเติมเต็มช่องว่างระหว่างศีรษะ คอ และไหล่ เพื่อป้องกันไม้ให้กระดูกสันหลังโค้ง เพราะไม่อย่างนั้นจะทำให้เราปวดต้นคอได้ ในส่วนของตัวหมอนควรเป็นหมอนที่แน่น ไม่ยุบง่าย หรือจะใช้เป็นหมอนสองใบก็สามารถทำได้ โดยหมอนใบหนึ่งใช้หนุนศีรษะ โดยหมอนจะต้องไม่สูงเกินไป หากจะให้ดีควรเป็นหมอนที่สูงเท่ากับระดับความจากไหล่มายังศีรษะของแต่ละคน ซึ่งศีรษะต้องอยู่ในแนวเดียวกับกึ่งกลางลำตัว ส่วนหมอนอีกใบควรเป็นหมอนข้างที่เอาไว้ระหว่างขา เพื่อให้สะโพกอยู่ในระนาบเดียวกับกระดูกสันหลัง

หมอนจัดท่านอน

ท่านอนคว่ำ

ท่านอนคว่ำ จริง ๆ แล้วเป็นท่านอนที่ไม่แนะนำเลย ท่านอนนี้ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะจะส่งผลทำให้กระตูกสันหลังส่วนเอวโค้งไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป นอกจากนี้เวลานอนท่าคว่ำก็จะต้องตะแคงหน้าไปทางใดทางหนึ่ง ซึ่งทำให้กระดูกต้นคอบิดไปด้วย จะส่งผลให้คอเอียงไปด้านข้าง อาจเป็นอันตรายและสะสมทำให้เกิดอาการปวดเนื้อปวดตัว เมื่อยตามร่างกายได้ ดังนั้นท่านอนนี้จึงเป็นท่านอนที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด แนะนำให้เปลี่ยนมานอนหงาย หรือนอนตะแคงแทนจะดีกว่า


แต่หากใครชอบที่จะนอนท่าคว่ำ หรือไม่สะดวกสบายในการเปลี่ยนท่านอน การเลือกหมอนช่วยนอนคว่ำสำหรับท่านอนนี้อาจเป็นเรื่องที่ยากหน่อย เพราะหมอนแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดหลายรูปทรง ดังนั้น ในช่วงแรกอาจจะต้องทดลองใช้หมอนในแต่ละแบบก่อนประมาณ 2-3 เดือน เพื่อประเมินหาหมอนที่เหมาะกับสรีระและลักษณะการนอนแบบคว่ำของแต่ละคน เพื่อให้ได้หมอนที่แมตช์กับผู้นอนมากที่สุด


สำหรับทุกท่านอนที่กล่าวมา หมอนที่เหมาะกับทุกท่านอน ควรเลือกหมอนสุขภาพ ที่ผลิตจากใยสังเคราะห์หรือหมอนยางพาราจะดีกว่า เพราะจะช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพในด้านต่าง ๆ ได้ โดยหมอนที่เราจะขอแนะนำคือ หมอน คิว บายคอมฟี่ (q pillow by komfy) หมอนที่นอนหลับสบายที่สุด เป็นหมอนจัดท่านอนรูปทรงตัว q หมอน 2 in 1 ในใบเดียว ที่เป็นได้ทั้งหมอนหนุนและหมอนข้างในตัว มีผิวสัมผัสนุ่ม ช่วยผ่อนคลายต้นคอ บรรเทาอาการกดทับ และลดการเกิดอาการปวดต่าง ๆ แถมยังเป็นหมอนระบายอากาศดี รองรับกับทุกท่วงท่านอน แถมยังช่วยจัดท่านอนให้เหมาะสมกับสรีระของร่างกาย เพื่อให้คุณได้หลับสบายตลอดคืน