เลือกหมอนลดความเมื่อยล้าอย่างไรแก้ปัญหาปวดเรื้อรังคนออฟฟิศ

หมอนลดความเมื่อยล้า

หลายๆ คนคงนึกไม่ถึงว่าหมอนลดความเมื่อยล้าจะสามารถบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นโรคฮอตฮิตติดชาร์ตสำหรับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศในพ.ศ.นี้ ด้วยปัจจัยจากพฤติกรรมในการทำงานในปัจจุบัน ทั้งการทำงานในพื้นที่จำกัด การนั่งผูกติดกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ด้วยท่าทางเดิมๆ หรือแม้กระทั่งการนั่งหลังค่อมโดยไม่รู้ตัว รวมไปถึงความเครียดจากการทำงาน ก่อให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ โดยหมอนลดความเมื่อยล้าเข้ามามีบทบาทปรับท่านอนให้ถูกต้อง แก้ปัญหาที่จุดเริ่มต้นของปัญหา ก่อนจะเรื้อรังไปยังที่ทำงาน โดยที่หลาย ๆ คนคิดว่าแค่กินยาเดี๋ยวก็หาย หรือไปนวดเดี๋ยวก็หาย แต่ผลร้ายไม่ได้มีเพียงแค่อาการปวดดังกล่าวเท่านั้น แต่อาการดังกล่าวอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอย่างโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม หรือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืด (Myofascial Pain Syndrome : MPS) เป็นโรคปวดกล้ามเนื้อและอาการทางประสาทอัตโนมัติที่มีผลมาจากจุดปวดในกล้ามเนื้อและเยื่อผังพืด ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคและอาการต่างๆ ทั้งต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหาร ระบบนัยน์ตาและการมองเห็น รวมไปถึงระบบอื่นๆ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome), เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome), อาการตึงของเส้นประสาท (nerve tension), กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow), นิ้วล็อก (trigger finger), หรืออาการหลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)

หมอนลดความเมื่อยล้า

อาการแบบไหนคือลักษณะของโรคยอดฮิตของมนุษย์ออฟฟิศ?

  • มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
  • ความรุนแรงของการปวดเริ่มต้นตั้งแต่อาการเมื่อยล้า จนทำให้เกิดความรำคาญในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ไปจนถึงปวดทรมานจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้ ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • บางรายอาจมีอาการชานิ้วมือ และชาบริเวณขาและเท้าร่วมด้วย
  • บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน อาการนอนไม่หลับ ผสมด้วย
  • ก่อให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น กระดูกสันหลังคด ระดับไหล่สองข้างไม่เท่ากัน ขาสั้น ยาวไม่เท่ากัน ก่อให้เกิดภาวะการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุลกัน กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดของกล้ามเนื้อตามมา
หมอนลดความเมื่อยล้า

อาการแบบไหนที่ “ไม่ใช่” อาการของโรคมนุษย์ทำงานนี้?

 หลายๆ คนเมื่อมีอาการปวดหลัง ปวดเมื่อย รู้สึกตึงกล้ามเนื้อ ก็มักจะคิดไปแล้วว่าตัวเองต้องเป็นเจ้าโรคยอดฮิตของหนุ่มาวออฟฟิศแน่ ๆ แต่แท้จริงแล้วอาการปวดบางอย่าง ไม่ใช่อาการของโรคคนทำงานนี้ แต่เป็นสัญญาณเตือนว่าอาจเป็นโรคร้ายแรงอย่างโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแทน ซึ่งหากคุณมีอาการเช่นนี้ ต้องพิจารณาแล้วว่าอาจเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแทนก็เป็นได้!

  • มีอาการปวดหลังยาวนานมากกว่า 2-4 สัปดาห์ขึ้นไป
  • หากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณเอว จะมีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาจเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจมีอาการทั้งสองข้าง หากปล่อยทิ้งไว้จนอาการหนักขึ้น กล้ามเนื้อขาจะอ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมการเดินและการขับถ่ายได้
  • หากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณต้นคอ จะมีอาการปวดคอร้าวลงแขน โดยอาจมีอาการแขนอ่อนแรง หรือชา จนอาจก่อให้เกิดการไม่สามารถควบคุมการใช้มือได้
  • เวลาไอ จาม หรือเบ่ง จะรู้สึกปวดลึก เนื่องมาจากสาเหตุการเกิดแรงดันในไขสันหลัง
หมอนลดความเมื่อยล้า

พฤติกรรมแบบไหนที่ควรเปลี่ยนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคของกลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศรวมถึงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท?

  • ยืดเส้นยืดสายบ่อยๆ เนื่องมาจากสาเหตุที่อาการของโรคเหล่านี้เกิดจากการอยู่ในท่าเดิมนานๆ จึงควรพักร่างกายบ้าง อย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง และขณะพักควรลุกขึ้นขยับร่างกาย ขยับแขน ขา พร้อมยืดเส้นยืดสาย เพื่อเป็นการพักร่างกาย ไม่ให้กล้ามเนื้อ หรือเส้นตึงเกินไป จนก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด
  • ป้องกันหรือแก้ออฟฟิศซินโดรมด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง รวมไปถึงความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยทำให้อาการเสี่ยงของการก่อให้เกิดโรคดังกล่าว รวมถึงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทลดน้อยลง แต่ไม่ควรเลือกการออกกำลังกายที่เอ็กซ์ตรีมจนเกินไป เพราะการบิดตัวอย่างกระทันหันและรวดเร็ว มีส่วนทำให้หมอนรองกระดูกเกิดอาการเสื่อมเร็วมากขึ้น เสี่ยงก่อให้เป็นโรคหมอนรองกระดูกอักเสบเช่นกัน
  • ปรับลักษณะการนั่งและการนอนให้ถูกต้อง รวมไปถึงการปรับอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตให้เหมาะกับศีรษะ ยกตัวอย่างเช่น เก้าอี้ หรือการจัดวางคอมพิวเตอร์ ควรปรับองศาให้พอดี เพราะมีผลต่อท่านั่ง และส่งผลต่อการขยับตัวที่ต้องยกตัว เอนตัว หรือโน้มตัวจนเกินไป รวมไปถึงการนอน เช่นการนอนคว่ำ จะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลัง รวมไปถึงการนอนขดตัว ที่ทำให้กระดูกสันหลังบิดงอผิดรูป รวมไปถึงการนอนตะแคงที่กดทับอวัยวะบางส่วน นอกจากนี้การเลือกหมอนก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรหลีกเลี่ยงหมอนสูง และไม่ควรใช้หมอนที่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อท่านอนที่ผิด และก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
หมอนลดความเมื่อยล้า

หมอนดีๆ ตัวช่วยลดความเมื่อยล้า

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในชีวิตของคนเรา มักจะใช้เวลาในการทำงานมากกว่าทำกิจกรรมอื่นๆ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆ คน จึงไม่แปลกที่หลายๆ คนจะหาตัวช่วยเพื่อมาป้องกัน รวมไปถึงบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง หรือหาอุปกรณ์มาเป็นตัวช่วยเพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิก เพื่อหลีกเลี่ยงในการเป็นโรคร้าย ซึ่งอาจลุกลามไปยังโรคหมอนรองกระดูกอักเสบเช่นกัน

หมอนลดความเมื่อยล้า


อุปกรณ์ง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ใช้ และได้ผลดี ที่เราขอแนะนำคงหนีไม่พ้น หมอน ที่ใช้ได้ในการทำงาน รวมไปถึงการนอน ซึ่งหมอนที่ควรใช้ในการทำงาน ควรเป็นหมอนที่ลดแรงกดทับอย่างมีประสิทธิภาพ


หมอนพิงหลัง Kool Komfort Kalm เป็นหมอนระบายอากาศดีสามารถใช้พิงหลังได้ที่ออกแบบมาเพื่อการรองรับตั้งแต่ช่วงแขนไปถึงการโอบหลัง โดยมีไอเดียในการผลิตเกิดมาจากการสร้างสรรค์ของคนชอบนั่งอ่านหนังสือจนปวดหลัง สู่การดีไซน์หมอนแบบใหม่ที่เป็นได้ทั้งหมอนนั่งพิงหลัง และมีที่พักแขนในตัว ช่วยลดปัญหาอาการปวดหลัง ปวดคอ จากการนั่งอ่านหนังสือหรือนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ

หมอนลดความเมื่อยล้า


ไม่เพียงแต่จะเหมาะกับการนั่งทำกิจกรรมเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้กับการนอนพักผ่อน ที่จะช่วยทั้งจัดท่านอนและสรีระให้อยู่ในช่วงท่าที่ถูกต้อง และเป็นท่านอนแก้ปวดไหล่ โดยเฉพาะกับคนที่ชอบนอนตะแคงข้าง วางแขนแนบขนาดไปกับลำตัว หรือกับบางคนที่นอนตะแคงข้างกอดหมอนเพื่อให้รู้สึกเหมือนถูกกอด ถือว่าเป็นท่านอนที่ดีต่อสุขภาพและฮิตสำหรับใครหลายๆ คน เพราะท่านอนลักษณะนี้ช่วยรักษาแนวกระดูกสันหลัง และคอให้ตรงตลอดคืน ป้องกันอาการปวดเมื่อยคอและหลังได้ แถมยังช่วยลดอาการกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน และผู้หญิงมีครรภ์อีกด้วย


ไม่ใช่เฉพาะพนักงานออฟฟิศที่เสี่ยงกับการเป็นโรคดังกล่าว แต่ยังรวมถึงคนธรรมดาทั่วๆ ไปที่ใช้งานร่างกายหนัก ด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น พนักงานขับรถ พนักงานยกของ พนักงานช่างต่างๆ ที่ต้องใช้งานกล้ามเนื้อ หรือทำงานในท่าเดิม ไม่ว่าจะนั่ง หรือยืน ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานหลายชั่วโมง และมีการก้ม เงย บิด อวัยวะทั้งหลัง หรือคอ เป็นเวลานาน ซึ่งหากเริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามบริเวณต่างๆ อย่าปล่อยปละละเลย ควรสังเกตพฤติกรรมของตัวเองว่าอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นมาจากกิจกรรมใด และควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อรักษาอาการปวดให้หายขาด และป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้ได้