โรคออฟฟิศซินโดรม ที่มนุษย์ออฟฟิศ และ มนุษย์ WFH ต้องระวัง

มนุษย์ออฟฟิศระวังจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมแบบไม่รู้ตัว

โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นที่มาของอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ที่มักพบได้บ่อยในคนที่ทำงานออฟฟิศหรือกลุ่มวัยทำงาน ที่นั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน และยิ่งในปัจจุบันจากสถาการณ์โควิด 19 ระบาดหนักขึ้นทำให้หลาย ๆ บริษัทหันมา work from home หรือทำงานที่บ้านกันมากขึ้น แม้ว่าในช่วงแรก หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าความสุขของชีวิตการทำงานกำลังจะเข้ามา เพราะเราไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องไปเจอผู้คนมากมายในชั่วโมงเร่งด่วน และได้ทำงานแบบสบายอยู่ที่บ้านได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น กลับกลายเป็นเรากำลังเผชิญกับปัญหาบางอย่างที่เราอาจจะไม่รู้ตัว เพราะเราอาจจะพบว่า ตัวเองเราเองนั้นใช้เวลาอยู่หน้าจอมากขึ้นกว่าปกติ ฉะนั้นมนุษย์ออฟฟิศทุกคนควรระวัง! เพราะอาการปวดหลังอาจไม่ได้มาจากออฟฟิศอย่างเดียว แต่อาจจะเป็นเพราะ Work from Home ด้วยนะ 

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออาการปวดหลัง ที่ปวดในกระดูกสันหลังหรือกล้ามเนื้อที่เกิดจากการนั่งหรืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน

สาเหตุออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร?

โดยส่วนใหญ่แล้ว ออฟฟิศซินโดรมจะเกิดขึ้นในขณะใช้งานคอมพิวเตอร์เวลาที่ทำงาน ความเจ็บปวดและความรุนแรงนี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาในตอนแรก อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง โรคปวดหลัง โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง และกระดูกสันหลังผิดปกติ ท่าทางและความสามารถในการทำงานหรือเคลื่อนไหวตามปกติของเราอาจได้รับผลกระทบ

โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง

  • มีอาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ 
  • ปวดหัว 
  • อาการชาที่นิ้วและแขน
  • ตาแห้ง
  • เวียนหัว
  • รู้สึกความเหนื่อยล้ากว่าปกติ

โดยอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมจะพบมากในอาการปวดคอและร่างกายส่วนบน ซึ่งหาเราเป็นโรคนี้มันจะสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และประสิทธิภาพการทำงาน ไม่เพียงแต่ในระหว่างการทำงาน แต่ยังรวมถึงคุณภาพชีวิตของคุณในยามว่างด้วย

โรคออฟฟิศซินโดรมจะมีความรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย ได้แก่ เค้าโครงพื้นที่ทำงานที่ไม่ถูกต้อง ความสูงของโต๊ะที่ไม่เหมาะสม การวางตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง และการนั่งเป็นเวลานานจะทำให้เอนตัวไปข้างหน้า ทำให้กล้ามเนื้อคอและหลังยึดได้ เมื่อเวลาผ่านไป ก็อาจจะทำให้อาการปวดของเราพัฒนาไปสู่อาการออฟฟิศซินโดรม

วิธีการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม 

การจัดการกับปัญหาโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น

ท่านั่งแก้ปวดหลัง และการจัดที่นั่งทำงานให้เหมาะสม

  • วางตำแหน่งด้านบนของจอภาพไว้ด้านหน้าแนวสายตาของคุณ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าศีรษะของคุณตั้งตรงเหนือคอและไม่เอนไปข้างหน้าไปทางจอภาพ สิ่งนี้จะช่วยป้องกันอาการงอนและความเครียดที่กล้ามเนื้อคอของคุณ
  • ผ่อนคลายไหล่ของคุณ!
  • วางแขนท่อนล่างขนานกับพื้น
  • งอข้อศอกทำมุม 90-100 องศา ทำให้เกิด “รูปตัว L”
  • นั่งตัวตรงและพักบนพนักพิงหลังของเก้าอี้ ใช้ผ้าขนหนูม้วนหลังส่วนโค้งหลังส่วนล่างเพื่อรองรับหากจำเป็น
  • รักษาช่องว่างเล็ก ๆ ระหว่างเข่ากับเก้าอี้
  • เข่าอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าสะโพกเล็กน้อย
  • วางเท้าราบกับพื้นหรือใช้ที่พักเท้าเพื่อยกขึ้นหากจำเป็น
  • รักษาน้ำหนักให้เท่ากันทั้งสองขาและเท้าหากอยู่ในท่ายืน
  • เปลี่ยนตำแหน่งของคุณหรือหยุดพักทุก ๆ 20 – 30 นาที! (ดูเคล็ดลับการออกกำลังกายของเราด้านล่าง!)

การขยับร่างกายผ่าน 4 ท่าในขณะที่นั่งทำงาน เพื่อเพิ่มช่วงพักการเคลื่อนไหวของคุณ

  1. การยืดคอ: ป้องกันอาการปวดคอและไหล่ตึง
  2. Seated Spine Twist: เพื่อคลายและยกกลางหลัง
  3. การยืดข้อมือ: เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมือแน่นขณะพิมพ์
  4. Seated Pigeon Stretch: เพื่อคลายและป้องกันสะโพกตึงและคลายหลังส่วนล่าง

ใช้หมอนรองหลัง

หรือหาก 2 วิธีข้างต้นอาจจะไม่ถูกใจใคร ๆ คน เราก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยคุณได้ง่าย ๆ ได้เช่นกัน นั่นคือ “หมอนตัว U” หรือ “หมอนรองหลัง Kool Komfort Kalm” ที่จะช่วยหนุนร่างกายในขณะที่เรานั่งทำงาน มีที่วางรองโน๊ตบุ้ค ดีไซน์รองรับตั้งแต่ช่วงแขนไปถึงการโอบแผ่นหลัง แน่นอนว่าหมอนใบนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาอาการปวดหลังได้อย่างแน่นอน และสบายยิ่งขึ้น ด้วยเนื้อผ้า K2 Kool นวัตกรรมการทอเส้นใยพิเศษที่ให้ความเย็นสบาย ระบายอากาศได้ดี ไม่ว่าจะนั่งทำงานทั้งวัน หรือต่อด้วยการดูซีรีย์ก็รองรับบอกลาอาการปวดเมื่อย

บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยหมอนรองหลัง

ทำไมเราถึงใส่ใจในการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม?

สำหรับคนที่พึ่งเข้ามาทำงานได้ไม่นาน อาจจะไม่รู้จักโรคนี้มากนักเท่าไหร่ แต่อยากจะบอกไว้เลยว่า แรก ๆ ของโรคออฟฟิศซินโดรมก็แค่ปวดกล้ามเนื้อ แต่พอเราปล่อยไว้นาน ๆ ขึ้นมันจะทำให้เราเองที่รู้สึกรำคาญกับอาการปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เพราะไม่มีใครคนไหนที่ชอบอยู่ในความเจ็บปวดหรอกจริงไหม หากเราไม่ระวังไว้ตั้งแต่เนิน ๆ เราอาจจะต้องรู้สึกไม่สบายอาจถึงขั้นที่เราต้องกินยาหรือทำกายภาพบำบัดกันเลยนะ!