ฟื้นตัวเร็ว ด้วยวิธีง่าย ๆ กับการดูแลตัวเองโดยเฉพาะอาการหลังผ่าตัดเข่า และสะโพก

ฟื้นตัวเร็ว ด้วยวิธีง่าย ๆ กับการดูแลร่างกายโดยเฉพาะอาการหลังผ่าตัดเข่า และสะโพก

หลายท่านคงกังวลและสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการผ่าตัดเข่า หรือสะโพกกันอยู่ใช่ไหมคะ และแน่นอนว่าคงมีคำถามมากมายที่เกิดขึ้นในหัวไม่ว่าจะเป็น 

  • อาการแบบไหนถึงต้องผ่าตัด
  • ใช้วิธีบล็อคหลังหรือดมยาสลบ 
  • ถ้าผ่าแล้วแผลจะยาวกี่เซนติเมตร 
  • มีผลข้างเคียงมากน้อยแค่ไหน 
  • ต้องนอนโรงพยาบาลกี่วัน 
  • ผ่าตัดหัวเข่าพักฟื้นกี่วันถึงจะกลับมาเป็นปกติ เข่าถึงจะเริ่มงอเข่า,ยืน,เดินและพอขับรถใกล้ๆได้ 
  • หลังผ่าแล้วต้องกลับมาทำกายภาพบำบัดอีกหรือไม่ 
  • รวมถึงรอยแผลหลังผ่าตัด หากหายสนิทดีแล้ว จะยังคงมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นอีกหรือไม่ เช่น รอยตึงของแผล หรืออาการเจ็บรอบแผล เป็นต้น 

ในบทความนี้เราจะมาตอบปัญหาที่หลาย ๆ ท่านกำลังสงสัยพร้อมแนะนำการดูแลรักษาร่างกายให้กลับมาฟื้นตัวเร็ว ด้วยวิธีง่าย ๆ กับการดูแลร่างกายโดยเฉพาะอาการหลังผ่าตัดเข่า และสะโพกกันค่ะ 

ต้องเป็นมากน้อยขนาดไหนถึงต้องผ่าตัด? 

เรื่องการผ่าตัด จริง ๆ เกิดได้ในหลายสาเหตุ แต่ในบทความนี้เราจะมาเน้นกันที่ปัญหาเรื่องสุขภาพเข่าและสะโพกกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เรานั้นจำเป็นต้องผ่าตัด? 

ปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้เราต้องการผ่าตัด ?

ในส่วนของการผ่าตัดเข่า มักจะจำเป็นก็ต่อเมื่อข้อเข่าสึก หรือมีภาวะอาการเสียหายรุนแรง ซึ่งการผ่าตัดจะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้อเข่าอักเสบ และฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่าที่เป็นโรคร้ายแรงได้  โดยปัญหาส่วนใหญ่ที่พบบ่อยที่สุด เมื่อต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าคือ โรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่ทำให้เข่าเสียหาย ได้แก่ :

  • ข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • โคคฮีโมฟีเลีย
  • โรคเกาต์
  • ความผิดปกติที่ทำให้กระดูกเติบโตผิดปกติ
  • กระดูกข้อเข่าตายจากปัญหาเลือดไปเลี้ยง
  • อาการบาดเจ็บที่เข่า
  • ข้อเข่าผิดรูปด้วยความเจ็บปวดและสูญเสียกระดูกอ่อน

ส่วนเรื่องของปัญหาเกี่ยวกับสะโพก โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการผ่าตัดสะโพกคือ ปัญหาจากโรคข้อเข่าเสื่อม หรือภาวะอื่น ๆ ที่อาจทำให้ข้อต่อสะโพกเสียหายได้ เช่น 

  • ข้ออักเสบรูมาตอยด์ 
  • กระดูกสะโพกหัก 
  • ข้อสะโพกเสื่อม
  • โรคข้ออักเสบ 
  • ความผิดปกติที่ทำให้กระดูกเจริญเติบโตผิดปกติ (กระดูก dysplasias)

ความแตกต่างระหว่างบล็อกหลัง กับ ดมยาสลบ

การบล็อกหลัง หรือการทำให้รู้สึกชาเฉพาะที่ 

เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดบริเวณขาหรือสะโพก รวมถึงการผ่าตัดช่องท้องส่วนล่าง ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

  1. Epidural block คือการฉีดยาชาเฉพาะที่ โดยสามารถระงับความรู้สึกเจ็บปวดและมีการหย่อนกล้ามเนื้อ เป็นการฉีดยาชาเข้าไปช่องเหนือ ช่องน้ำไขสันหลัง 
  2. Spinal block คือการฉีดยาชาเข้าไปในช่องน้ำไขสันหลัง ซึ่งจะออกฤทธิ์กดการนำส่งพลังประสาท ทำให้มีอาการชาและหย่อนกล้ามเนื้อใรบริเวณที่ถูกบล็อกไว้

โดยการเลือกระหว่าง 2 แบบนั้นจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ แต่โดยทั่วไป การทำแบบ Spinal block จะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะว่าใช้เวลาในการทำสั้นกว่า ออกฤทธิ์เร็วและแน่นอนกว่า 

ข้อดีของการบล็อกหลัง  : 

  1. กล้ามเนื้อของขาจะหย่อนตัวได้ดีกว่าการวางยาสลบ ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้สะดวกกว่า
  2. ความต้องการยาแก้ปวดในช่วงหลังผ่าตัดจะน้อยกว่าการวางยาสลบ เนื่องจากระบบประสาทถูกสกัดจากยาชาก่อนที่จะเกิดบาดแผล ผิดกับการวางยาสลบ ซึ่งยาสลบจะไปกดสมองไม่ให้รับรู้ความเจ็บปวด แต่ ระบบประสาทไขสันหลัง และระบบประสาททั่วร่างกายยังทำงานของมันอยู่ ทำให้เมื่อยาสลบหมดฤทธิ์ ก็จะปวดมาก 
  3. หากผู้ป่วยกลัว หรือ กังวลมาก ก็อาจจะให้ยานอนหลับ (คนละชนิดกับยาสลบ) ให้หลับ เพื่อลดความกลัว ลดความกังวลได้ 

ข้อเสียของการบล็อกหลัง ​: 

  1. หลังผ่าตัดจะขยับขาไม่ได้อยู่ประมาณ 2-4 ชั่วโมง ในบางรายอาจจะรู้สึกรำคาญ หรือ เมื่อยขา โดยเฉพาะในช่วงที่ยาชากำลังจะหมดฤทธิ์ 
  2. บางคนอาจจะมีอาการปัสสาวะไม่ออก ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มักจะเกิดขึ้นในช่วง 12 ชั่วโมงแรก 
  3. มีอาการปวด หรือ เมื่อยหลัง อาจจะเป็นได้ในช่วงวันแรก ๆ 

การดมยาสลบ

เป็นการรวมกันของยาที่ทำให้เราหลับก่อนการผ่าตัด เราจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเพราะหมดสติไปโดยสมบูรณ์ การดมยาสลบมักใช้ยาทางหลอดเลือดดำร่วมกับก๊าซที่สูดดม (ยาชา) การดมยาสลบเป็นมากกว่าแค่การหลับ เมื่อสมองเราได้ดมยาสลบไปแล้ว จะไม่มีตอบสนองต่อสัญญาณความเจ็บปวดหรือปฏิกิริยาตอบสนองใด ๆ โดยข้อดีของการดมยาสลบ คือ ผู้ป่วยไม่ต้องรับรู้ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในห้องผ่าตัด ในขณะเดียวกัน ถ้ามีข้อดี ย่อมมีข้อเสียเช่นเดียวกัน นั้นก็คือ การใช้ยาสลบหลาย ๆ ตัวอาจจะทำให้มีผลข้างเคียงได้บ่อย แต่มักไม่อันตราย ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถหายได้เองในเวลาอันสั้น ซึ่งผลที่ตามมาอาจจะเป็นมีอาการเจ็บคอ ระคายคอ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการสอดใส่ท่อช่วยหายใจผ่านเข้าไปในหลอดลม อาการนี้จะใช้เวลาหายไม่นานเกินกว่า 1-2 วัน บางครั้งอาจจะมีอาการคลื่นไส้ หรือ มีความเสี่ยงในเรื่องของการสำลักเศษอาหารควบคู่ไปด้วยสำหรับบางท่าน 

ระยะเวลาการรักษา

สำหรับประเด็นในการรักษาการผ่าตัดเข่า โดยปกติทั่วไป เมื่อทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า แพทย์จะทำการเปิดแผลผ่าตัดบริเวณหัวเข่ายาวประมาณ 8-10 เซนติเมตรเพื่อนำส่วนของข้อเข่าที่เสื่อมสภาพออก หลังจากผ่าเข่า จำเป็นต้องพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 2-3 วัน ระหว่างนี้แพทย์จะให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหว และก่อนอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน แพทย์จะตรวจดูให้แน่ใจก่อนว่าผู้ป่วยลุกขึ้นยืน นั่ง นอน และเข้าห้องน้ำเองได้แล้ว 

สำหรับการรักษาการผ่าตัดสะโพก ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไวและลดอัตราการเกิดข้อสะโพกหลุดหลังผ่าตัด โดยขนาดของบาดแผลในการผ่าตัดสะโพกนั้นจะมีความยาวประมาณ 3 – 4 นิ้ว โดยแผลผ่าตัดจะอยู่ด้านหน้า และสามารถซ่อนแผลใต้รอยขอบบิกินี่ (Bikini incision) ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการอีกด้วย ซึ่งขั้นตอนการผ่าตัดจะใช้เวลาผ่าตัด 2-3 ชั่วโมง โดยศัลยแพทย์จะตัดกระดูกอ่อน และกระดูกส่วนที่เสียหายออก และใส่วัสดุข้อสะโพกเทียมเข้าไปแทน เมื่อทำการผ่าตัดเสร็จ ผู้ป่วยอาจจะจำเป็นต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลา 4 – 7 วัน และหลังผ่าตัด12 สัปดาห์ขึ้นไปผู้ป่วยอาจจะสามารถเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ แต่ความช้าหรือเร็วในการหายเป็นปกติ อันนี้อาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัย และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันออกไป 

หลังการผ่าตัด ควรมีวิธีดูแลอย่างไร?

นอกจากจะต้องมีคุณหมอที่เก่งแล้ว การพักฟื้นก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เช่นเดียวกัน เพราะหากเราพักฟื้นในท่าที่ไม่เหมาะสม อาจเกินผลกระทบต่อการผ่าตัด หรือแผลผ่าตัดได้นะคะ วิธีพักฟื้นโดยทั่วไป 2 ตัวช่วยที่อยากขอแนะนำที่ผู้ผ่าตัดเข่าหรือสะโพกจะต้องมี เพราะจะช่วยให้การพักฟื้นนั้นสบายขึ้น 

ก็คือ หมอนรุ่น Kool Komfort Kradle เป็นหมอนสำหรับล็อคขา เพื่อช่วยประคองขาและช่วงหัวเข่าไม่ให้บิดออกจากแนวเส้นตรง อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน มีรูปทรง W แนวตรงช่วยรองรับหัวเข่าและปลายเท้าได้อย่างเหมาะตามหลักสรีรศาสตร์ เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น แม้นอนเป็นเวลานาน ก็ไม่รู้สึกอึดอัด หรือร้อนขา อย่างแน่นอน 

Kool Komfort Kradle

และอีกหนึ่งตัวช่วยที่แนะนำจะเป็น หมอน Kradle Underkicks เป็นหมอนรองเข่า รูปทรงครึ่งวงกลม ซึ่งเป็นหมอนเหมาะสำหรับรองใต้ขา ช่วยลดแรงกดทับ และลดอาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนล่าง สะโพก และหัวเข่า 

Kraddle Underkicks

หากใช้หมอนล็อคขา Kool Komfort Kradle และหมอนรองเข่า Kradle Underkicks ร่วมกัน จะช่วยในการพักฟื้นและซัพพอร์ตร่างกายที่พึ่งได้รับการผ่าตัดมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะช่วยรองรับตั้งแต่ช่วงสะโพกไปถึงข้อเท้า ลดการเคลื่อนไหวระหว่างการพักฟื้น

และทั้งหมดนี้ คือข้อมูลที่รวบรวมมาให้กับทุกคนที่กำลังหามองหาวิธีการดูแลที่จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว ด้วยวิธีง่าย ๆ กับการดูแลร่างกายโดยเฉพาะอาการหลังผ่าตัดเข่า และสะโพก หากใครมีข้อคำถามหรือสงสัยเกี่ยวกับสินค้าหมอนทั้ง 2 รุ่นข้างต้น สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 095-907-6587 หรือ Facebook Page : ​​SleepKomfy