บรรเทาโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างไรให้ไกลหมอ

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับกับพนักงานออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งในท่าซ้ำ ๆ ข้อมูลเชิงสถิติโดยโรงพยาบาลสมิติเวช พบว่า คนไทยกว่า 80% ที่ทำงานออฟฟิศมักมีอาการออฟฟิศซินโดรม โดยสาเหตุที่เกิดมาจากพฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน รวมถึงสภาพร่างกายของคนเรา หลายคนกังวลโดยเฉพาะเมื่อเราจำเป็นจะต้องหาหมอ กับการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยกายภาพบำบัด หรือฝังเข็ม ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง หรือหาไอเท็มเสริมมาช่วยบรรเทาอาการนี้ Komfy ได้มีการสร้างสรรค์หมอนขึ้นมาหลายรุ่น เพื่อให้รองรับกับการใช้งานที่แตกต่างกัน รวมถึงหมอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดของโรคนี้อีกด้วย แต่ก่อนที่เราจะไปหาวิธีการแก้ไขวิธีต่าง ๆ เราจำเป็นต้องรู้จักก่อนว่าโรคนี้คือโรคอะไร…

ออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร?

คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) ที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม จนก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ไม่เพียงเท่านี้ ออฟฟิศซินโดรมยังปวดหัวเป็นอาการข้างเคียงอีกด้วย สาเหตุหลักเกิดจากรูปแบบการทำงานที่กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเจอร์นานเกินไปโดยไม่ขยับร่างกาย ผ่อนคลาย หรือเปลี่ยนท่า ซึ่งอาจจะส่งผลกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง รวมไปถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง มีการแสดงอาการหลากหลาย โดยเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถระบุตำแหน่งอาการปวดได้อย่างชัดเจน บางคนอาจจะเจออาการปวดไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของร่ายกายได้ มีอาการตั้งแต่ปวดน้อยไปจนปวดมาก

ออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุการเกิดโรคเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  • สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ทำงานที่มีแสงสว่างน้อย อุปกรณ์ที่ใช้ไม่เหมาะสม โต๊ะทำงานอยู่ในระดับที่ไม่พอดี ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์มีระยะที่สูงหรือต่ำจนเกินไป รวมถึงเก้าอี้ที่นั่งไม่มีพนักพิง ที่ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกาย
  • ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม หมายถึง การนั่งทำงานหลังค่อม หลังงอ นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีที่พิง หรือนั่งไม่เต็มก้น กอดอก นั่งไขว่ห้าง หรือนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ไม่มีการขยับเขยื้อนไปไหน
  • สภาพร่างกายอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออาการป่วย ยกตัวอย่างเช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การได้รับสารอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ หรือรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
ออฟฟิศซินโดรม

การป้องกันและรักษาเพื่อบรรเทาอาการโดยไม่ต้องพึ่งคุณหมอ

สามารถทำได้หลายทาง การป้องกันแต่ละวิธีจะช่วยให้เรามีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากการปวด โดยมีวิธีดังนี้

  • แก้โรคออฟฟิศซินโดรมด้วยการออกกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีที่แก้ไขได้ง่ายที่สุด โดยการออกกำลังจะต้องเป็นเป็นการออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ ยกตัวอย่างเช่น การยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น การออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อให้เหมาะสม หมายถึง การไม่นั่งทำงานอยู่ในท่าทางเดิมเกิน 1 ชั่วโมง หากจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ควรพัก 10-15 นาทีแล้วค่อยกลับมาทำต่อ
  • การปรับเปลี่ยนท่าทางขณะนั่งทำงาน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น ปรับหน้าจอคอให้อยู่ในระดับสายตา ในท่านั่งที่รู้สึกสบาย ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้หรือปรับพนักพิงหลังของเก้าอี้ให้รับกับหลังส่วนล่างได้ หากเก้าอี้ไม่สามารถทำให้ได้ให้ใช้หมอนหนุนหลังหรือหมอนลดอาการปวดหลังแทน โดยหมอนหนุนควรเป็นหมอนที่นั่งพิงสบาย จะให้ดีควรรองรับได้ตั้งแต่ช่วงแขนไปถึงการโอบหลัง
ออฟฟิศซินโดรม

หากมีการปรับพฤติกรรมตัวเองเพื่อป้องกัน บรรเทาโรคนี้จากคำแนะนำข้างต้นแล้ว และอยากมีไอเท็มหมอนหนุนเสริมเพื่อเอาไว้พิงหลังช่วยบรรเทาอาการเพิ่มเติม หากกำลังมองหาไอเดียว่าควรเลือกหมอนแก้อาการปวดหลังอย่างไร แต่เราขอแนะนำ หมอน Kool Komfort Kalm หมอนสำหรับคนชอบนั่งทำงานหรือทำกิจกรรมเดียวเป็นเวลานาน ๆ หมอนใบนี้สามารถเอาไว้ได้ทั้งพิงหลังและรองแขน แถมยังเป็นหมอนลดอาการปวดคอ เพื่อช่วยบรรเทาอาการที่จะเกิดจากโรคนี้ได้อีกด้วย