สาเหตุคืออะไรน้า ?
- ความผิดปกติของส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าในคนปกติ
- ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
อาการของโรค..
- อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก
- ผู้ป่วยมักมีอาการเรอและมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
- ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
- เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ
- หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ
เช็กอาการกรดไหลย้อนเพิ่มเติมคลิกที่นี่
เป็นกรดไหลย้อน ต้องนอนท่าไหนนะ ?
- หากเรานอนราบหัวต่ำ หลังจากรับประทานอาหารภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ก็จะเพิ่มโอกาสการเกิดกรดไหลย้อน เพราะอาหารและกรดจะยังค้างอยู่ที่กระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถไหลย้อนกลับมาที่บริเวณหลอดอาหารได้
- ถุงเก็บอาหารในกระเพาะจะอยู่ทางด้านซ้าย เมื่อเรานอนตะแคงซ้าย ถุงจะย้อยลงรูเปิดหลอดอาหารที่ลงไปยังกระเพาะจะอยู่เหนือระดับกรดและอาหารที่อยู่ในกระเพาะ ฉะนั้นกรดจึงจะไม่ไหลย้อนขึ้นมา
- แต่เมื่อใดก็ตามที่เรานอนตะแคงขวา รูเปิดหลอดอาหารจะอยู่ต่ำกว่าระดับของกรดและอาหารในกระเพาะ ทำให้สามารถย้อนกลับมาได้
- ควรจะนอนหัวสูง เพราะถ้านอนหัวต่ำ กรดก็จะไหลย้อนขึ้นมามากขึ้น
ตัวช่วยที่ Komfy แนะนำ..
ถึงจะเป็นกรดไหลย้อนแต่สามารถหลับได้ดียิ่งขึ้น หากรู้จักวิธีรับมือและฝึกนอนท่านอนที่เหมาะสม
ตัวช่วยดีดีอย่างหมอน Kool Komfort Kalm (หมอนตัวU) ที่สามารถใช้ร่วมกับหมอนใบเดิม เพื่อยกศรีษะให้สูงขึ้น ด้วยดีไซน์ของตัวหมอนที่โอบเราไว้ไม่ให้ไหลระหว่างนอน หรือจะนอนท่านอนตะแคงซ้ายก็สามารถกอดหมอนข้างในตัวได้ อีกทั้งเพิ่มความสบายได้อีกระดับด้วยผ้าเย็น K2 Kool ไม่รู้สึกร้อนอึดอัดระหว่างคืน หมอนใบนี้จะช่วยบรรเทาอาการกดไหลย้อนได้อย่างตรงจุดเลยทีเดียว